วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554


แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอ


แผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง

การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

[แก้] ชนิดของเครือข่ายเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่

เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ

เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
[แก้] อุปกรณ์เครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และ
มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย .

ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล
เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้

เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น 
Digital Library
ดิจิตอลไลบรารี


เมื่อประมาณสามสิบปีที่แล้ว หากจะรวบรวมหนังสือวิชาการเฉพาะ เช่น วิชาเคมี ภายในห้องสมุดคงจะมีไม่เกินหนึ่งร้อยเล่ม และหากเข้าไปในห้องสมุดในยุคปัจจุบัน หนังสือที่ เกี่ยวกับวิชาเคมีมีมากมายหลายพันเล่ม
จำนวนหนังสือสิ่งพิมพ์มีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีหนังสือวิชาการสาขาต่าง ๆ แตกแขนงย่อย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนเชื่อแน่ว่า หากห้องสมุดยังคงเก็บหนังสือเช่นปัจจุบัน อีกไม่นานห้องสมุดจะพบปัญหาสถานที่เก็บคงต้องขยายอาคาร เพิ่มพื้นที่การจัดเก็บหนังสือ
มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาประมาณสิบแห่ง ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยอิลลินอย สแตนฟอร์ด มิชิแกน เบอร์กเลย์ และคาร์เนกี้ เมลอน เป็นต้น ได้เข้าร่วมกับสถาบัน IEEE ของสหรัฐอเมริกาดำเนินโครงการ วิจัยและพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล
ห้องสมุดดิจิตอลในความหมายนี้คือ เป็นแหล่งที่เก็บเอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์ ต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิตอล ที่สามารถเรียกดูหรือค้นหาได้ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความจริงลักษณะของการใช้งานสื่อสิ่งพิมพ์ผ่านทางเครือข่าย เราคงได้เห็นกันบ้างแล้ว เช่นการใช้ข้อมูลบนเครือข่ายเวิร์ลไวด์เว็บ บนอินเทอร์เน็ต มีการสร้างมาตรฐานไฮเปอร์เท็กซ์ เพื่อให้สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบโฮมเพ็จเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อการเรียกใช้ที่ง่าย
มีการพัฒนาโปรแกรมบราวเซอร์ให้เป็นโปรแกรมสำหรับนำทางเข้าไปหายังโฮมเพจต่าง ๆ เรียกค้นข้อมูลที่ต้องการ สิ่งที่เป็นจุดเด่นก็คือ สามารถแสดงผลได้ทั้งรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้แต่วิดิโอ สิ่งพิมพ์ที่ปรากฎบนจอภาพจึงมีชีวิตชีวา
โครงการห้องสมุดดิจิตอลนี้ เป็นโครงการทดสอบเพื่อหาความเป็นไปได้ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเป็นต้นแบบของการขยายผลในอนาคต มหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ ได้สร้างห้องสมุดดิจิตอลที่เชื่อมโยงถึงกัน มีการนำเอกสารสิ่งพิมพ์ หนังสือต่าง ๆ แปรรูปเป็นข้อมูลดิจิตอลที่สามารถเรียกค้นได้บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากที่อยู่ห่างไกล
องค์กร IEEE และ acm ได้จัดพิมพ์วารสารทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์กว่าร้อยหัวเรื่อง วารสารส่วนใหญ่ออกเป็นรายเดือน มีผู้เป็นสมาชิกหลายแสนคนจากทั่วโลก ล่าสุด IEEE และ acm ได้เสนอกับสมาชิกสำหรับการบอกรับวารสารในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ในรูปแบบดิจิตอล สมาชิกสามารถเลือกรับวารสารแบบดิจิตอล หรือแบบเป็นหนังสือ หากรับแบบ ดิจิตอลก็สามารถเข้าไปเปิดอ่านโดยเรียกผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเริ่มให้ลองใช้โฮมเพ็จที่ www.computer.org, www.acm.org
ข้อเด่นที่เชิญชวนให้สมัครสมาชิกเพื่อรับวารสารแบบดิจิตอล คือ ผู้รับสามารถอ่านฉบับย้อนหลัง และมีระบบค้นหาข้อมูล ทำให้การค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว
การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลมีรูปธรรมที่เป็นจริงอยู่มาก ข้อมูลหนังสือสิ่งพิมพ์ทั้งหมดที่เก็บไว้ไม่แตกต่างจากที่หยิบอ่านจากหนังสือจริง หากสั่งพิมพ์ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เอกสารสิ่งพิมพ์ที่ได้นั้นเสมือนการถ่ายจากต้นฉบับทุกประการ ที่สำคัญคือผู้อ่านได้รับรวดเร็วกว่าการจัดส่งทางไปรษณีย์
ความสำเร็จขั้นต้นนี้เกิดจากการพัฒนาของบริษัท Adobe ซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องการจัดพิมพ์เอกสาร Adobe มีชื่อเสียงในเรื่องการคิดค้นเทคโนโลยีการพิมพ์ เป็นผู้พัฒนาระบบ โพสคริปต์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมที่มีชื่อเสียงทางด้านการพิมพ์ที่ชื่อ เพ็จเมกเกอร์
บริษัท Adobe ได้พัฒนาโปรแกรมที่ชื่อ Acrobat Reader เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้ฟรี โปรแกรมเมื่อประกอบรวมกับบราวเซอร์ ทำให้บราวเซอร์เปิดอ่านข้อมูลที่จัดเก็บในรูปสิ่งพิมพ์ดิจิตอลได้ทันที การจัดเก็บเอกสารไว้บนเซิร์ฟเวอร์เป็นแฟ้มประเภท .pdf
ลองจินตนาการดูว่า เทคโนโลยีการพิมพ์ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพียงไรู การพิมพ์ต้นฉบับเริ่มจากการใช้เวิร์ดโปรเซสเซอร์ ูการสแกนรูปภาพ ูการตกแต่งแยกสีเพื่อทำแม่พิมพ์ก็ใช้คอมพิวเตอร์ การจัดหน้าพิมพ์หรือการวางองค์ประกอบ ต้องใช้โปรแกรมประเภท เดสท๊อปพับบลิชิง (DTP - Desk Top Publishing) แม้กระทั่งการพิมพ์ก็ใช้เครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์ หรือเทคนิคการพิมพ์ชั้นสูงอื่นที่มีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบ
ขบวนการพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ล้วนแล้วแต่เข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์แล้วทั้งสิ้น การเก็บข้อมูลสิ่งพิมพ์ในรูปสื่อดิจิตอลจึงไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะหากต้องการลดพื้นที่การเก็บหนังสือจำนวนมากในห้องสมุด การใช้หนังสือแบบดิจิตอล และเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการขนาดใหญ่มีฐานข้อมูลซีดีรอมจำนวนมาก การบริหารจะเป็นแบบอัตโนมัติ ขนาดของสถานที่จะลดลง
ลองนึกเลยต่อไปว่า หากต้องการค้นหาหนังสือเล่มใด ผู้ค้นไม่ต้องเดินทางไปห้องสมุด การเรียกค้นจากที่ใดก็ทำได้ และอยากค้นหาเมื่อไรก็ได้ เพราะห้องสมุดเปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ห้องสมุดดิจิตอลจึงเป็นขุมความรู้ของผู้ใช้
หากมองเลยต่อไปว่า บริษัทผู้พิมพ์หนังสือเก็บไว้ในรูปสิ่งพิมพ์ดิจิตอล โดยไม่ต้องพิมพ์ลงบนกระดาษ ผู้ใช้ต้องเสียค่าบริการหรือเป็นสมาชิกจึงจะมีสิทธิในการเปิดอ่านได้ การบอกรับหนังสือพิมพ์ก็เพียงแต่ได้รหัสผ่านสำหรับเปิดอ่าน ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สามารถลดต้นทุนลงได้โดยไม่ต้องใช้กระดาษจริง ดังนั้นสมาชิกของ IEEE และ acm ที่บอกรับหนังสือดิจิตอลจึงเสียค่าบริการ ถูกกว่าวิธีการจัดส่งหนังสือจริงไปให้
กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ร่วมกันศึกษาค้นคว้า และพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล จะเป็นโมเดลตัวอย่าง จะทำให้ห้องสมุดเป็นเครือข่ายความรู้ การดำเนินการแบบช่วยกันจะทำให้ห้องสมุดเติบใหญ่และขยายบริการได้อีกมาก การแบ่งกันใช้ทรัพยากรเป็นหนทางของมวลมนุษยชาติที่จะดำรงชีวิตร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน
การสานฝันของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านนี้ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เชื่อมั่นว่าอีกไม่ช้าเราจะได้เห็นห้องสมุดดิจิตอลที่สมบูรณ์แบบ และสามารถบริการคนทั่วโลกที่อยู่ห่างไกลได้
โลกแห่งความจริงเสมือนของห้องสมุด (Virtual Library) กำลังใกล้เข้ามาแล้ว

ห้องสมุดแหล่งข้อมูลความรู้

ห้องสมุดจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ชั้นวางหนังสือในห้องสมุดห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ

ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด

ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ความสำคัญของห้องสมุด
2 บทบาทของห้องสมุด
3 วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
4 ระบบรหัสที่ใช้จัดเก็บหนังสือ
5 ดูเพิ่ม
6 อ้างอิง
7 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ความสำคัญของห้องสมุดห้องสมุดยังเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้สามารถเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง อย่างอิสระ และ ตามความสนใจของแต่ล่ะบุคคล และยังเป็นสถานที่ ที่ทำก่อให้เกิดนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้า จนกระทั่งทำให้ผู้ใช้ สามารถมองเห็นความแตกต่างของหนังสือ ว่าเล่มไหนเขียนได้ดี และสามารถจดจำแนวทางการเขียนที่ดี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งยังช่วยให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ห้องสมุด ยังเป็นศูนย์ข้อมูล มีความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ เพราะห้องสมุดจำเป็นต้องมีข่าวสารใหม่ๆ ไว้บริการผู้ใช้

[แก้] บทบาทของห้องสมุดห้องสมุด มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ

ด้านการศึกษา ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดมีบทบาท ในการเสริมความรู้ และสนันสนุนการศึกษาในระบบ และให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพให้ทันกับวิทยาการ และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว
ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติ ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย.....
[แก้] วัตถุประสงค์ของห้องสมุดวัตถุประสงค์หลักทั่วไปของห้องสมุดมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้

1.เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
2.เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก ทัให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
3.เพื่อใช้ในการค้นคว้า - ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
4.เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบรรดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ
5.เพื่อนันทนาการ - นอกจากการอ่านหนังสือวิชาการแล้ว ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพราะห้องสมุด ยังมีหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ เลขมาตรฐานสำหรับหนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (อังกฤษ: Library of Congress Classification) เรียกย่อๆ ว่า L.C. เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมในหอสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอสมุดในมหาวิทยาลัยและ ห้องสมุดทางการวิจัย ซึ่งถูกริเริ่มคิดขึ้นโดย ดร.เฮอร์เบิร์ต พัทนัม (Dr.Herbert Putnum) ชาวอเมริกัน บรรณารักษ์ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, ชาร์ลส์ มาร์เตล (Charles Martel) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ หัวหน้าแผนกจัดหมวดหมู่หนังสือ และวิลเลียม ปาร์เกอร์ คัตเตอร์ (William Parker Cutter)

[แก้] หมวดหมู่การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ตามประเภทของหนังสือ โดยใช้ ตัวอักษรโรมันผสมกันตัวเลขอารบิก

[แก้] หมวดใหญ่โดยออกเป็น 20 หมวดใหญ่ โดยใช้ตัวอักษร A-Z ยกเว้น I,O,W,X และ Y ดังนี้

A ความรู้ทั่วไป (General Work)
B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion)
C ศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)
D ประวัติศาสตร์ทั่วไปและโลกเก่า (History:General)
E-F ประวัติศาสตร์อเมริกา (History:America (Western Hemisphere))
G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation)
H สังคมศาสตร์ (Social Sciences)
J รัฐศาสตร์ (Political Science)
K กฎหมาย (Law)
L การศึกษา (Education)
M ดนตรี (Music)
N วิจิตรศิลป์ (Fine Arts)
P ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม (Linguistics, Literature)
Q วิทยาศาสตร์ (Science)
R แพทยศาสตร์ (Medicine)
S เกษตรศาสตร์ (Agriculture)
T เทคโนโลยี (Technology)
U วิทยาการทหาร (Military Science)
V นาวิกศาสตร์ (Naval Science)
Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library Science

กระดาษข่าวอิเร็คทรอนิค (web forum)

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จอภาพกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ ใช้ฟิล์มสร้างภาพอิเล็กทรอฟอเรติกของ E Inkกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic paper) บางครั้งก็เรียกว่า อีเปเปอร์ เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่เลียนแบบลักษณะการใช้หมึกบนกระดาษปกติ แต่แตกต่างจากจอแสดงผลแบบจอแบนโดยทั่วไป ตรงที่มีการใช้แบคไลต์ เพื่อให้ความสว่างแต่เซลล์ภาพ (pixel) ทำให้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์สะท้อนแสงได้เหมือนกระดาษทั่วไป และสามารถบันทึกข้อความและภาพโดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า หรือการใช้กำลังประมวลผล ขณะเดียวกันก็สามารถเปลี่ยนกระดาษได้ด้วย คุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นก็คือ เซลล์ภาพจะมีเสถียรภาพด้านภาพแบบไบสเตเบิล ทให้สถานะของแต่ละเซลล์ภาพสามารถคงอยู่ โดยไม่ต้องมีการจ่ายกำลังไฟ

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเอาชนะข้อจำกัดของจอมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น การใช้แสงแบคไลต์ของมอนิเตอร์นั้นทำให้สายตาของมนุษย์ล้า ขณะที่กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นสะท้อนแสงคล้ายกระดาษปกติ ทำให้อ่านเมื่อวางเป็นมุมเอียงได้ง่ายกว่าอ่านจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบา ทนทาน และโค้งงอได้มากกว่า เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบอื่นๆ แม้จะไม่สามารถโค้งงอหรือยับได้เหมือนกระดาษก็ตาม

การประยุกต์ใช้งานในอนาคตนั้นคาดว่าจะมีหนังสือที่ใช้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเป็นรุ่นเก็บข้อมูลดิจิตอลจากหนังสือต่างๆ มากมาย โดยมีหนังสือเพียงเล่มเดียวที่แสดงผลหน้าต่างๆ พร้อมกัน โปสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ และโฆษณาอื่นๆ ในร้านค้านั้นได้มีการสาธิตอยู่บ้างแล้ว

สำหรับกระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่เหมือนกับกระดาษดิจิตอล เพราะกระดาษดิจิตอลนั้น เป็นกระดาษที่มีรูปแบบลวดลายอย่างหนึ่ง ต้องใช้กับปากกาดิจิตอล เพื่อสร้างเอกสารลายมือแบบดิจิตอล รูปแบบของจุดที่พิมพ์นั้นจะบ่งบอกโคออดิเนตที่ชัดเจนบนกระดาษ สำหรับปากกาดิจิตอลที่ใช้จะเก็บลายมือเอาไว้ และโหลดเข้าไปยังคอมพิวเตอร์



[แก้] เทคโนโลยีกระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการพัฒนาครั้งแรก ในราวทศวรรษ 1970 โดย Nick Sheridon แห่งศูนย์วิจัยแพโล แอลโต ของซีรอกซ์ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นแรก เรียกว่า Gyricon ประกอบด้วยทรงกลมโพลีเอทีลีน มีขนาดระหว่าง 20-100 ไมโครเมตร แต่ละทรงกลมประกอบด้วยพลาสติกสีดำมีประจุลบที่ด้านหนึ่ง และพลาสติกสีขาวมีประจุบวกอีกด้านหนึ่ง ทรงกลมนี้ถูกฝังอยู่ในแผ่นซิลิโคนโปร่งใส แต่ละลูกจะแขวนลอยอยู่ในฟองน้ำมัน ทำให้มันสามารถหมุนไปได้โดยอิสระ สภาพขั้วของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ขั้วไฟฟ้าแต่ละคู่ จะพิจารณาว่าด้านขาวหรือด้านดำที่หันขึ้นด้านบน และจะทำให้พิกเซลสีดำหรือสีขาวปรากฏขึ้น

เมื่อมาถึงทศวรรษ 1990 มีการประดิษฐ์กระดาษอิเล็กทรอนิกส์อีกชนิดหนึ่งขึ้นมา โดยนายโจเซฟ จาคอบสัน (Joseph Jacobson) ซึ่งภายหลังได้ร่วยมก่อตั้งบริษัท E Ink ขึ้น และได้เป็นพันธมิตรกับ Philips Components อีกสองปีต่อมาจึงได้พัฒนาและทำตลาดเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นอย่างจริงจัง

เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ใช้ไมโครแคปซูลขนาดจิ๋ว ที่บรรรจุอนุภาคระดับโมเลกุลสีขาวที่มีประจุไฟฟ้า แขวนลอยอยู่ในน้ำมันแร่มีสี กระดาษอิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรกๆ นั้นมีวงจรที่ใช้ควบคุมว่าอนุภาคหรือขาวอยู่ที่ด้านบนของแคปซูล (ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นสีขาว) หรือที่ด้านล่างของแคปซูล (ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นสีของน้ำมัน) ข้อนี้เป็นจุดสำคัญ เพราะเป็นการแนะนำเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบ Electrophoresis ขึ้นใหม่ แต่การใช้ไมโครแคปซูลทำให้มีการใช้จอแสดงผลบนแผ่นพลาสติกโค้งงอได้ แทนที่จะเป็นกระดาษ

กระดาษอิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรกๆ แบบหนึ่งประกอบด้วยแผ่นแคปซูลโปร่งแสงขนาดเล็กมาก แต่ละแผ่นมีขนาดประมาณ 40 ไมโครเมตร แต่ละแคปซูลประกอบด้วยสารละลายเหมือนน้ำมัน มีสีย้อมสีดำ (หมึกอิเล็กทรอนิกส์) และมีอนุภาคไทเทเนียมไอออกไซด์สีขาวจำนวนมากแขวนลอยอยู่ภายใน อนุภาคเหล่านี้มีประจุไฟฟ้าลบไม่สูงนัก และแต่ละอนุภาคก็มีสีขาวโดยธรรมชาติ

แคปซูลขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครแคปซูลนี้ถูกยึดไว้ในชั้นผิวของพอลิเมอร์เหลว ประกบอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าสองชุด ด้านบนทำด้วยอินเดียมทินออกไซด์ (ITO) เป็นโลหะนำไฟฟ้าโปร่งแสง

มีสองอาเรย์ที่ถูกเรียงทำทำให้แผ่นแคปซูลถูกแบ่งเป็นพิกเซล ซึ่งแต่ละพิกเซลจะสอดคล้องกับคู่อิเล็กโตรดที่อิ่มตัวทั้งสองด้านของแผ่น แผ่นดังกล่าวถูกเคลือบด้วยพลาสติกโปร่งแสงเพื่อป้องกันความเสียหาย ทำให้มีความหนารูปไข่ 80 ไมโครเมตร หรือสองเท่าของกระดาษธรรมดา

โครงข่ายของอิเล็กโตรดจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับวงจรแสดงผล ซึ่งเปลี่ยนหมึกอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็น เปิด และ ปิด ที่พิกเซลหนึ่งๆ โดยการจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังคู่อิเล็กโตรดนั้นๆ การจ่ายประจุลบไปยังอิเล็กโตรดที่พื้นผิว จะผลักอนุภาคไปยังด้านล่างสุดของแคปซูลนั้นๆ เป็นการผลักสีย้อมดำไปยังพื้นผิว และทำให้เซลล์ภาพนั้นปรากฏเป็นสีดำ เมื่อมีการแปลงสลับแรงดันไฟฟ้า ก็มีผลตรงกันข้าม คือทำให้อนุภาคถูกขับจากพื้นผิว ทำให้เซลล์ภาพปรากฏเป็นสีขาว

เมื่อเร็วๆ นี้มีการใช้อิเล็กโตรดชั้นเดียวใต้ไมโครแคปซูล ซึ่งนับว่าลดความยุ่งยากลงได้เป็นอย่างมาก

[แก้] กระดาษสี หรือโพลีโครมกระดาษอีเปเปอร์แบบสีอย่างง่าย ประกอบด้วยฟิลเตอร์เสริมเป็นสี ขนาดบาง เพิ่มเข้าไปยังเทคโนโลยีโมโนโครม (กระดาษสีเดียว หรือขาวดำ) ที่กล่าวมาข้างต้น อาร์เรย์ของพิกเซลนั้นแบ่งเป็นแม่สี ซึ่งปกติประกอบด้วยสีแดง เขียว และน้ำเงินมาตรฐาน ในลักษณะเดียวกับมอนิเตอร์แบบ CRT จอแบบนี้จะถูกควบคุมคล้ายกับจอแสดงผลภาพสีแบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

[แก้] การประยุกต์ใช้มีแนวทางการใช้กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นี้มากมายหลายอย่าง โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาร่วมของบริษัทต่างๆ ที่มีความสนใจและชำนาญในสาขานี้ เทคโนโลยีด้านอื่นๆ ที่ถูกประยุกต์เข้ากับกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ การปรับปรุงจอแสดงผลแบบผลึกเหลว (liquid crystal display : LCD), จอแสดงผลอิเล็กโตรโครมิก (electrochromic display) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ จาก Etch-A-Sketch ที่มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น

Gyricon ได้พัฒนากระดาษอิเล็กทรอนิกส์อีกแบบหนึ่ง ร่วมกับ Philips Electronics, Kent Displays (จอแสดงผลคอเลสเตอริก), Nemoptic (เทคโนโลยี bistable nematic - BiNem), NTERA (จอแสดงผล electrochromic NanoChromics), E Ink และ SiPix Imaging (electrophoretic) และอื่นๆ อีกมาก

[แก้] การประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์E Ink Corporation ได้ร่วมงานกับบริษัทต่างๆ เช่น Phillips และ Sony เพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งยังประกาศเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2005 ว่า จะเริ่มจัดส่ง shipping developer kits เป็นกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ความละเอียด 800 x 600 ขนาด 6 นิ้ว ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2005 และวันที่ 14 – 15 กรกฎาคม ค.ศ.2005 Fujitsu ได้แสดงกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่ตนร่วมพัฒนา ที่ Tokyo International Forum โดยมีการใช้กำลังไฟต่ำ และไม่ต้องการไฟฟ้า เว้นแต่ในช่วงการเปลี่ยนภาพบนจอเท่านั้น ทำให้กระดาษเล็กทรอนิกส์เหมาะสมเป็นพิเศษ สำหรับเป็นแผ่นป้ายโฆษณา หรือป้ายแจ้งข่าวสารในสถานที่สาธารณะ แทนที่กระดาษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ในประเทศจีนให้ความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ ด้วยจัดเป็นวิสาหกิจ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ iRex 

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์



ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) . 2545. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.srithai.com/



E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด

สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็น

คนเดียวหรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้

สามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่าง กันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา

โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่ายเขาก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้ว ความสะดวกเหล่านี้ทำให้นักวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับ

อาจารย์ หรือ เพื่อน นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อ

สื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใด ของมุมโลก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียน เป็นราย บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่ง ที่มีความ สำคัญ คือ 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค 2.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตาม 3. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลา ส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน 4. การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง

5. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก

โปรแกรมของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความ ไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย 6. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถที่จะถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ 7. ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่า

ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุด

เมื่อทุก บ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลก ก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงาน

ตามสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงาน

ทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสร้างฟอร์ม e-mail ไว้ให้เพื่อความสะดวกในการส่งข้อมูล
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง

สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ

• อีเมล์สำนักงาน – เป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด

• อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ



ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน
อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป – หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา

รูปแบบของ e-Mail Address

บัญชีชื่อ @ โดเมนเนมของหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ

เช่น นายสมชาย เป็นพนักงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายสมชาย คือ somchai@nectec.or.th (ข้อมูลสมมติ)

นายวินัย เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายวินัย คือ vinai@ku.ac.th

การแจ้งอีเมล์ให้กับผู้อื่น มีข้อควรระวังดังนี้

ระบุตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กให้ชัดเจน เพราะระบบอินเทอร์เน็ต มักจะถือว่าตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นคนละตัวกัน เช่น Vinai ไม่เหมือนกับ vinai เป็นต้น
จะต้องระบุให้ครบทั้งชื่อบัญชี เครื่องหมาย @ และโดเมนเนม



อินเตอร์เน็ตคืออะไร

อินเตอร์เน็ต (Internet) คงจะเป็นคำที่คนแทบทุกคนทั่วโลกรู้จักคุ้นเคยกันดี แต่ก็ไม่อาจทราบชัดเจนว่าอินเตอร์เน็ตคืออะไรกันแน่ และมีอิทธิพลต่อชีวิตเราในโลกอย่างไร

อินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อย ๆ จำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันจนมีเครือข่ายที่มีขนาดมหึมาเพื่อประโยชน์ ในการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ โดยผ่านผู้ให้บริการกับเครือข่ายทั่วโลก

อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่คลอบคลุมเนื้อหาแทบทุกบริษัท และเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้เครือข่ายได้ค้นดว้าข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถท่องเที่ยวไปในซุปเปอร์ไฮเวย์อิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Super Highway) ไปยังต่างประเทศแบบออนไลน์ด้วยระยะเวลาอันสั้น

บริการอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่

· ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail) คือไปรษณีย์ที่ส่งผ่านกันภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ติดต่อกับบุคคลอื่นได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เมื่อเทียบกับโปรแกรมอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ต สำหรับการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Unix มีโปรแกรมที่ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่หลายโปรแกรม อาทิเช่น Mail, Pine เป็นต้น ในระบบปฏิบัติการ Windows ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแบบ GUI : Graphic User Interface ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น โปรแกรม Internet mail ของ Microsoft Internet Explorer หรือโปรแกรม Internet mail ของ Netscape เป็นต้น

· การขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Telnet) คือการขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้บริการจากเครื่องใดในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้นโดยตรง การขอใช้บริการแบบนี้ผ้ใช้จะป้อนคำสั่งผ่านคอมพิวเตอร์ของตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง แล้วจึงแสดงผลลัพธ์กลับมาที่แสดงที่หน้าจอ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถใช้โปรแกรม telnet ได้โดยไม่ต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้ เช่นการค้นหาโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บแฟ้มข้อมูลด้วยโปรแกรม Archie และบริการ Gopher เป็นต้น

· บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ (File Transfer Protocol หรือ FTP) คือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เป็นบริการสำคัญอย่างหนึ่งในอินเตอร์เน็ต โดยปรกติแล้วผู้ที่สามารถถ่าย โอนย้ายแฟ้มข้อมูลได้นั้น จะต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้บนโฮสต์นั้นๆ แต่เครือข่ายหลายแห่งได้เปิดให้บริการสาธารณะให้แก่บุคคลภายนอก สามารถถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูลด้วยชื่อบัญชี "anonymous" โดยไม่ต้องมีการป้อนรหัสผ่านข้อมูล หรือแฟ้มข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถขอถ่ายโอนย้ายได้นั้นมีอยู่มากมาย เช่น บทความข้อมูลทางสถิติ ผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ คือซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ทำงานบนระบบต่าง ๆ เช่นระบบวินโดวส์ ดอส ยูนิกซ์ หรือแมคอินทอช

· Archie คือระบบค้นแหล่งที่อยู่ข้อมูล เป็นระบบที่ช่วยค้นหาที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลบนโฮสต์สาธารณะ เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มข้อมูลที่สนใจอยู่ที่โฮสต์ใด ให้เรียกใช้ Archie แล้วป้อนคำสั่งค้นชื่อแฟ้มข้อมูล โปรแกรมจะตรวจค้นหาแฟ้มข้อมูล พร้อมกับแสดงชื่อแฟ้มและชื่อโฮสต์ที่เก็บข้อมูล เมื่อผู้ใช้ทราบชื่อแล้วก็สามารถใช้ FTP เพื่อถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูลต่อไป

· Gopher เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดค้นหาข้อมูลและขอใช้บริการด้วยระบบเมนูและเป็นจุดศูนย์รวมในการเรียกใช้บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีทั้ง Telnet โอนย้ายแฟ้มข้อมูลด้วย FTP หรือค้นหาชื่อโฮสต์ที่เก็บแฟ้มข้อมูลด้วย Archie บริการเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง และไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อโฮสต์ที่ต้องการติดต่อ เพราะสามารถเลือกได้จากเมนู Gopher จึงเป็นเสมือนเส้นทางและอุโมงค์ลัดเลาะไปสู่ยริากรในอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก

· กลุ่มข่าว (UseNet) เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มการสนทนาและอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ ผ่านทางระบบกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์แบบเดียวกันกับบูลเลตินบอร์ด (Bulletin Board System) แต่ละกลุ่มข่าวใน Usenet มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นในหัวข้อตามที่กลุ่มนั้นสนใจ ตั้งแต่เรื่องทางเทคนิค วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ กีฬา ศาสนา ปรัชญา และหัวข้ออื่น ๆ อีกมากมาย

· Wide Areas Information Server (WAIS) ดัชนีบอกแหล่งข้อมูล (อ่านว่า เวยส์) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลในรูปทที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้มนั้น ในขณะที่ Archie จะค้นชื่อของแฟ้มที่ต้องการค้นหาซึ่งต่างกับ WAIS ลักษณะของ WAIS เป็นการเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากว่าในอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลอยู่หลายแห่งกระจัดกระจาย การค้นข้อมูลโดยแยกไปค้นตามข้อมูลต่าง ๆ ย่อมไม่สะดวกแก่ผู้ใช้ การทำงานของ WAIS จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นเหมือนกับว่ามีฐานข้อมูลเพียงแห่งเดียว และเมื่อต้องการค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์อาจจะช่วยค้นไปยังแหล่งข้อมูลที่ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันอยู่

World Wide Web (WWW) เป็นบริการข้อมูลแบบมัลติมีเดีย (Multi-media) บนอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน จุดเด่นของ WWW ได้แก่ความง่ายต่อการใช้งาน และมีรูปแบบการแสดงผลแบบ (Hyper Text) ที่เชื่อมโยงจากข้อมูลชุดหนึ่งไปยังข้อมูลอีกชุดหนึ่งได้ ซึ่งอาจอยู่ในศูนย์บริการข้อมูลเดียวกันหรือต่างศูนย์กัน บริการ www จึงเป็นเสมือนเครือข่ายที่โยงใยข้อมูลทั่วโลกเข้าหากัน เมื่อใช้งานศูนย์บริการแห่งหนึ่งแล้วผู้ใช้สามารถต่อเชื่อมเพื่อค้นข้อมูลที่ศูนย์อื่น ๆ ได้ ข้อมูลใน www มีทั้งข้อความปรกติ หรือแบบมัลติมีเดีย ที่ประกอบด้วยเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว www ยังได้ผนวกบริการอินเตอร์เน็ตอื่นไว้ภายใน เช่น การโอนย้ายแฟ้มด้วย Gopher หรือ Usenet


คำแนะนำในการใช้ google

Webmaster Guidelinesคำแนะนำสำหรับเว็บมาสเตอร์และผู้ดูแลเว็บไซต์ จาก Google

Google ขอแนะนำให้คุณปฎิบัติตามคำแนะนำเพื่อที่จะให้เรา ได้ค้นพบ อินเด็กซ์ และจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณได้อย่างมีระสิทธิภาพ แม้ว่าคุณเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตาม เรายังคงแนะนำให้คุณให้ความใส่ใจกับ Quality Guildeines (คำแนะนำสำคัญที่อย่างน้อยคุณต้องปฏิบัติตาม) ซึ่งจะระบุถึงข้อห้ามที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง มิฉะนั้นแล้วเว็บไซต์คุณจะถูกนำออกจากฐานข้อมูลของ Google ในที่สุด ซึ่งหากเว็บไซต์คุณถูกนำออกจากฐานข้อมูลของเราแล้ว นั่นหมายความว่า เว็บไซต์คุณจะไม่ปรากฏในผลลัพธ์การค้นหาของ Google และเว็บพันธมิตรของ Google แต่อย่างใด

Design and Content Guidelines คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์คุณ

• ออกแบบเว็บไซต์ให้มีโครงสร้างที่ชัดเจน และ มีลิ๊งก์ นำทางไปยังทุกๆหน้าของเว็บเพจ
• ควรมี site map ที่ทำให้ผู้ชมสามารถไปยังหน้าที่ต้องการภายในเว็บไซต์คุณได้อย่างทั่วถึง
• ควรมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับผู้ชม และชัดเจน สะกดคำอย่างถูกต้อง
• คาดการณ์ถึง คำค้นหา ที่ผู้ชมอาจจะใช้ค้นหา และให้คำเหล่านั้นปรากฏอยู่ภายในเว็บไซต์ของคุณ
• ใช้ ข้อความ text แทน รูปภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อสำคัญๆ เนื้อหา หรือ ลิงก์ เพราะ Google ไม่สามารถรู้ถึงข้อความที่ปรากฏอยู่ในรูปภาพได้
• ระบุ Title และ Alt text อย่างชัดเจน และถูกต้อง
• ตรวจสอบลิงก์เสียอย่างสม่ำเสมอ และแก้ไขให้ถฏต้อง
• หากคุณใช้ไดนามิกเพจ (URL ประกอบไปด้วย "?") โปรดระลึกไว้เสมอว่า search engine บางตัวเท่านั้นที่สามารถรับรู้ได้ ซึ่งเราคงแนะนำเว็บไซต์แบบ static มากกว่า
• คุณไม่ควรใส่ลิงก์จำนวนมากกว่า 100 ลิงก์ในหนึ่งหน้าเว็บเพจ

Technical Guidelines
• ใช้ text เบราเซอร์เช่น Lynx ตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณ เพราะ search engine spider จำนวนมากตรวจสอบเว็บไซต์ที่เป็นข้อความเหมือน Lynx เสียเป็นส่วนใหญ่ หากคุณใช้ลูกเล่นเช่น JavaScript, cookies,session IDs, frames, DHTML, or Flash เป็นจำนวนมากอาจทำให้ spiderไม่สามารถตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณได้อย่างทั่วถึง

• ออกแบบเว็บไซต์ให้ Search Bots (โปรแกรมที่ทำหน้าที่สำรวจเว็บไซต์ต่างๆนับล้านของ search engine แต่ละตัว) สำรวจเว็บไซต์คุณโดยปราศจากอุปสรรคอย่าง session IDs หรือ arguments ที่จะชี้นำ bots ไปยังหน้าที่คุณต้องการ เทคนิคเหล่านี้ดีสำหรับการตรวจสอบผู้ชมของคุณว่าไปหน้าเว็บเพจใดมาแล้วบ้าง แต่ไม่ดีกับ bots เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากคุณใช้เทคนิค session IDs หรือ arguments จะทำให้ search engine ไม่สามารถอินเด็กซ์เว็บไซต์คุณได้อย่างถูกต้อง

• แน่ใจว่าเว็บเซิฟเวอร์ของคุณสนุน If-Modified-Since HTTP header คุณสมบัตินี้จะทำให้เว็บเซิฟเวอร์ของคุณส่งข่าวถึง Google ว่าเนื้อหาภายในแต่ละเว็บเพจของคุณมีการเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน นับแต่ครั้งสุดท้ายที่ Google ทำการสำรวจ ซึ่งคุณสมบัตินี้ช่วยลดภาระด้าน bandwidth และoverhead ของเว็บเซิฟเวอร์คุณเป็นอย่างมาก

• ใช้ประโยชน์จาก robots.txt จากเว็บเซิฟเวอร์ของคุณ ไฟล์โรบอทนี้จะแจ้ง crawlers ว่าไดเรกทอรี่ใดสามารถทำการสำรวจได้ หรือ สำรวจไม่ได้ ตรวจสอบให้ถี่ถ้วนว่าเนื้อหาภายใน robots.txt นั้นไม่ได้ไปขัดขวางการสำรวจของ robots โดยไม่ได้ตั้งใจ (เขียนโค้ดผิด)

• งดการใช้ "&id=" เป็นพารามิเตอร์ ใน URLs ของคุณ เพราะ google จะไม่นำเว็บเพจที่มีพารามิเตอร์นี้มาไว้ในฐานข้อมูลของ Google

When your site is ready:เมื่อคุณพร้อม
• จงทำให้เว็บไซต์อื่นๆลิงก์มาที่เว็บไซต์คุณ ยิ่งมากยิ่งดี
• submit เว็บไซต์คุณเข้าสู่ ไดเรกทอรี่ต่างๆเช่น Open Directory หรือ Yahoo หรืออื่นๆ

Quality Guidelines: Basic principles (คำแนะนำพื้นฐาน)
• สร้างเว็บเพจ หรือ เว็บไซต์ สำหรับผู้ชม ไม่ใช่ search engines (ไม่ทำเว็บเพจใดๆขึ้นมาเพื่อให้มีอันดับการค้นหาที่ดีขึ้นใน search engine แต่เนื้อหานั้นไม่มีประโยชน์ใดๆต่อผู้ชมเว็บไซต์ของคุณเลย เทคนิคนี้เรียกว่า "Cloaking"

• หลีกเลี่ยงกลเม็ดวิธีใดๆที่จะทำให้เว็บไซต์คุณมีลำดับที่ดีขึ้นในผลลัพธ์การ ค้นหาของ Search engine จงถามตัวเองว่า การที่คุณใช้กลเม็ดใดๆเหล่านี้มีประโยชน์กับผู้ชมหรือไม่ ถ้ามี จงทำ แต่ถ้าทำเพื่อ search engine จัดอันดับเว็บคุณให้สูงกว่าคู่แข่งคุณ อย่าทำ

• อย่าเข้าร่วมกับ Link schemes ใดๆ ที่บอกว่าจะช่วยให้เว็บไซต์คุณมีอันดับที่ดีขึ้นได้ หรือ มี PageRank ที่สูงขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลีกเลี่ยงWeb spammer หรือ เว็บไซต์ที่ไม่ดี (เว็บการพนัน, เว็บโป๊) มิฉะนั้นแล้วเว็บคุณอาจโดนผลกระทบในทางลบก็เป็นได้

• หลีกเลี่ยงการใช้โปรแกรมใดๆที่จะ submit เว็บเพจคุณ หรือ ตรวจสอบ ลำดับเว็บไซต์ของคุณ (check ranking) เพราะจะทำให้ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อื่นๆทำงานหนักเกินความจำเป็น และยัง ฝ่าฝืนกฏของ Google อีกด้วย เราแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงโปรแกรมใดๆที่ส่ง quries ต่างๆโดยอัตโนมัติมายัง Google โดยเด็ดขาด

Quality Guidelines - Specific recommendations
• ห้าม ใช้ hidden text หรือ hiddent links (เช่น ทำตัวอักษร ให้เป็น สีขาว หรือ ไม่มีสี เพื่อให้ผู้ชมไม่เห็น แต่ search engine เห็น)
• ห้ามใช้ cloaking หรือ sneaky redirects
• ห้ามใช้ queries โดยอัตโนมัติมายัง Google
• ห้ามสร้างเว็บเพจหลายๆหน้า โดยที่ทุกๆหน้ามีเนื้อหาเหมือนๆกัน
• หลีกเลี่ยงการใช้ doorway เพจที่สร้างขึ้นเพื่อให้ลำดับการค้นหาดีขึ้น หรือ หลีกเลี่ยง cookies เช่น affiliate programs ที่ภายในเว็บเพจไม่มีเนื้อหาใดๆปรากฏอยู่


Qualitiy guidelines เหล่านี้เป็นข้อแนะนำและข้อห้าม ที่คุณควรปฏิบัติตาม ทั้งนี้ Google อาจใช้สิทธิ์ลงโทษเว็บไซต์ใดๆที่ใช้เทคนิคขี้โกงอื่นๆ เพื่อให้เว็บไซต์ตนเองมีอันดับทีสูงขึ้น เมื่อไรก็ได้ ซึ่งหากคุณปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้กล่าวมาแล้ว เชื่อว่าเว็บไซต์ของคุณจะอยู่ในลำดับคุณน่าจะพอใจอย่างแน่นอน

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา

เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน

2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

รูปแสดงเครือข่ายใยแมงมุม (WWW) ที่เชื่อมโยงรอบ ๆ วิกิพีเดียอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ที่มา
2 การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
3 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
4 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
4.1 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
4.2 อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท
5 ดูเพิ่ม
6 หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง
7 อ้างอิง
8 แหล่งข้อมูลอื่น


ที่มาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ

แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกไฟล์:Worldint2008pie.png
สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีป, ที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htmปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน

หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]

อินเทอร์เน็ตแบนด์วิทปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet Bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps 
การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา


เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น

- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)

- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

- อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา
- งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา

- งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน

- งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

- งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่

- งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ

ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็นฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้
- ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
- การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
- สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
- ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม


เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน


ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ

กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง